เคยสังเกตบ้างไหมครับว่า โฮมเพจใดที่คุณประทับใจเมื่อเข้าไปเยี่ยมชม ระหว่าง แบบที่โหลดได้เร็วสุด ๆ มีภาพแสนสวย กับ แบบที่มีลูกเล่นเยอะ ๆ จนต้องนั่งคอยกว่า 5 นาที แบบไหนที่ทำให้คุณตรึงใจ อยู่กับที่โดยไม่คลิกหนีไปเสียก่อน
ถ้า คุณคิดจะทำเว็บไซต์ให้ตรึงใจผู้ชม แน่นอนว่า ผู้ชมคนอื่น ๆ ก็มีความรู้สึกแบบเดียว กับคุณนั่นแหละ อยากชมเว็บไซต์ที่สวยงามสะดุดตา โหลดได้เร็วสุด ๆ มีลูกเล่นแพรวพราว (เอาแต่พองาม) มีเนื้อหาสาระชวนติดตาม และแน่นอนอยากเก็บไว้ชมในวันหลัง ( Add Bookmark ไว้) เราจะทำได้ไหมนี่ ?
การ ออกแบบเว็บไซต์อาจไม่ใช่เรื่องยากสำหรับคนที่มีหัวคิดในทางสร้างสรรค์ศิลปะ แต่การทำให้ดีนี่ ต้องอาศัยเทคนิคและการเรียนรู้ บัญญัติ 10 ประการ ในการออกแบบเว็บเพจ ต่อไปนี้ จะให้คำแนะนำที่มีประโยชน์ในการออกแบบเว็บไซต์ของคุณ เพื่ออวดสายตาแก่ผู้เล่น อินเทอร์เน็ตจากทั่วทุกมุมโลก ต้องขอขอบคุณผู้เขียนบทความนี้ (คุณทรงศักดิ์ ลิ้มบรรจงมณี : Internet Magazine : April 1998) อย่างยิ่งครับ ที่ทำให้ผมได้ความรู้ ทดลองทำตาม พบข้อจำกัดต่าง ๆ และนำเอามาเผยแพร่ขยายข้อความต่อ ณ ที่นี้
1. ใช้แบ็กกราวด์สะอาด เรียบง่าย
ฟัง ดูเป็นเรื่องง่าย แต่ลองทบทวนความจำของคุณดูว่า คุณพบเห็นเว็บไซต์มากมาย เท่าไหร่ ที่ใช้แบ็กกราวด์ที่ทำให้คุณต้องเพ่ง ปรับความสว่างของจอภาพ ฯลฯ เพื่อให้เห็นตัวอักษร ที่ซุกซ่อนอยู่ข้างใน ปัญหาของแบ็กกราวด์ คืออะไร
ขนาด ที่ไม่เหมาะสม มีวิธีการมากมายในการสร้างแบ็กกราวด์แบบไร้รอยต่อ การใช้ภาพ มาเป็นแบ็กกราวด์มักจะมีปัญหาเรื่องรอยต่อของภาพที่ไม่เหมาะสม การใช้ภาพขนาดเล็ก เกินไปมาเรียงกันคุณก็จะได้ฉากหลังที่วุ่นวาย ลายตา อ่านข้อความได้ยาก และยังใช้เวลา ในการแสดงผลนานขึ้น (เพราะเสียเวลาในการสร้างภาพเรียงต่อกัน) อีกปัญหาหนึ่งก็คือ การแสดงผลของผู้สร้างเว็บเพจกับผู้ชมตั้งไว้ไม่เหมือนกัน เช่น คุณสร้างงานเพื่อแสดงผล บนขนาดจอ 640 x 480 pixels ภาพแบ็กกราวด์ของคุณดูพอดีในเครื่อง แต่ผู้ชมที่เซ็ท ความละเอียดที่ 800 x 600 จะเห็นภาพขนาดเล็ก ๆ หลายภาพเรียงต่อกัน แต่ถ้าคุณสร้าง งานที่ความละเอียด 1024 x 768 ผู้ชมที่ดูด้วยความละเอียดต่ำกว่านี้ ก็จะเห็นภาพของคุณ เพียงบางส่วน
หลีกเลี่ยงการใช้ลวดลาย ฟังดูง่ายแต่คุณคงเห็นจากเว็บไซต์ต่าง ๆ แล้วว่าลวดลาย เหล่านั้นทำให้คุณต้องเพ่งสายตาอย่างมาก เพื่อจะอ่านมันให้เข้าใจ
เลือก สีที่เหมาะสม ลองคิดถึงตัวอักษรสีน้ำเงินบนพื้นสีน้ำเงิน ฟังดูแปลก ๆ แต่ก็มีผู้ทำ แบบนี้กันมาก อาจด้วยความพลั้งเผลอก็ได้ โดยเฉพาะสีที่เปลี่ยนไปหลังการคลิก Link พยายามใช้สีที่ดูดี สบายตา พื้นหลังและตัวอักษรมีสีตัดกันไม่รุนแรงนัก หลีกเลี่ยงพื้นแดง อักษรเขียว พื้นส้มอักษรน้ำเงิน การใช้สีพื้นธรรมดาจะทำให้ผู้ชมดูเว็บของคุณได้เร็วกว่า ใช้ภาพเป็นฉากหลังมากครับ
2. คิดก่อนใช้เอฟเฟกต์ต่าง ๆ
มี เทคนิคพิเศษมากมายสำหรับการสร้างภาพ แต่อย่าพยายามใช้มันมากนัก เพราะว่า บางทีผู้ชมอาจคิดว่ากำลังมาดูเว็บไซต์สยองขวัญได้ การให้แสงและเงาแก่ภาพและตัวอักษร ควร เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ไม่ขัดแย้งกัน การใช้เอฟเฟทค์อื่น ๆ ก็เช่นเดียวกัน ควรใช้แต่น้อย เพื่อ เสริมให้เกิดความเด่น แต่ไม่แย่งความสำคัญของเนื้อหาไป เพราะบางเอฟเฟคท์มีผลต่อความเร็ว ในการโหลดเว็บเพจของคุณเช่นเดียวกัน
3. ใช้ตัวอักษรที่คมชัด
ฟอนต์ หรือตัวอักษรที่มีขอบขรุขระเป็นรอยหยักขั้นบันได เมื่อใช้ในโปรแกรมสร้างภาพ เช่น Photoshop สามารถแก้ไขได้โดยการเลือกออปชัน Anti-Aliasing การเลือกฟอนต์ที่แสดงใน เว็บเพจ ควรเลือกตัวที่มีรูปแบบครบทั้งตัวปกติ ตัวหนา ตัวเอียง ตัวขีดเส้นใต้ จึงจะสามารถสร้าง ความกลมกลืนในหน้าเว็บเพจได้ดี
4. ออกแบบกราฟิกให้มีขนาดไฟล์เล็ก ๆ
ภาพกราฟิก ที่จะนำมาใช้ในเว็บเพจทั้งที่ได้จากการสแกน และสร้างขึ้นเองควรจะมีขนาด เล็กที่สุด และตรงตามจุดประสงค์ที่สุด ให้คุณจดจำกฎสองข้อนี้ไว้ในใจ
ข้อแรก ทุก ๆ ครั้งที่คุณออกแบบและสร้างกราฟิกสำหรับใช้นำไปยังเนื้อหาส่วนอื่น ๆ อย่า ลืมว่าในบางกรณีผู้ชมหรือตัวคุณเองก็คลิกบนภาพโดยไม่รอจนภาพแสดงอย่าง สมบูรณ์ ดังนั้นอย่าใช้ภาพกราฟิกที่ซับซ้อนสำหรับอิมเมจแม็พ จำไว้เสมอว่าทุก ๆ ครั้งที่คุณสร้าง กราฟิกสำหรับนำไปยังส่วนอื่น ๆ หน้าที่ของภาพคือ " การนำทาง" ดังนั้นภาพควรจะทำ ความเข้าใจได้ง่าย
ข้อสอง สำหรับนักออกแบบเว็บเพจบางคน ขนาดของไฟล์อาจไม่ใช่สิ่งสำคัญมากนักเพราะ เทคโนโลยีมีการพัฒนาขึ้นเสมอ ความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลทำได้เร็วขึ้น แต่นั่นก็ไม่ได้ หมายความว่า การส่งผ่านไฟล์ขนาดใหญ่เป็นเรื่องปกติ คุณควรปรับปรุงขนาดไฟล์ภาพ ของคุณให้สามารถส่งผ่านโมเด็มที่ใช้งานกันโดยทั่วไปได้อย่างราบรื่น ( บางคนยังใช้โมเด็ม 14.4 หรือ 28.8 อยู่) โดยไม่ทำให้คุณภาพของภาพเสียไป และขนาดของไฟล์ที่เล็กลงก็ทำ ให้คุณบริหารหรือจัดการกับไฟล์ต่าง ๆ ได้ง่าย สะดวก และเร็วขึ้นอีกด้วย
5. ควบคุมขนาดของเพจให้ดี
เว็บเพจของคุณมีขนาดกว้าง x ยาวเท่าไร และคุณเคยทดสอบการแสดงผลบนเว็บ บราวเซอร์ที่ต่างค่ายกัน ต่างขนาดจอหรือไม่ ดังนั้นคุณควรจะ
เรียน รู้ข้อจำกัดของผู้ชม อย่าลืมว่าผู้เข้าชมเว็บไซต์ของคุณนั้นอยู่กันทุกมุมโลก แต่ละคน มีอิสระในการกำหนดความละเอียดในการแสดงผล เลือกใช้เว็บบราวเซอร์ที่เขาชอบ และ ประทับใจ
วางรูปแบบโครงร่างที่เหมาะสม การวางโครงร่างของเนื้อหาด้วยขนาดที่ใหญ่เกินไป ไม่ เพียงแต่ผู้ชมจะเบื่อหน่ายต่อการเลื่อนแถบเลื่อนไปมา แต่อาจจะพลาดข้อมูลสำคัญที่คุณ ต้องการนำเสนอไปอย่างน่าเสียดาย เพราะอยู่ในตำแหน่งขอบที่ล้นจอออกไป
ออกแบบ "เฟรมที่ยืดหยุ่น" ซึ่งสอดคล้องกับการรับชม เมื่อคุณใช้เฟรมหรือตารางใน เว็บเพจของคุณ ควรกำหนดขนาดด้วยค่าเปอร์เซนต์แทนตัวเลขค่าคงที่ เพื่อให้ยืดหยุ่น เหมาะสมกับการแสดงผลของแต่ละคน
6. วางแผนและออกแบบก่อนลงมือสร้าง
เมื่อ คุณคิดจะออกแบบสร้างเว็บเพจ อย่าวางแผนสร้างเฉพาะหน้าแรก แต่ให้วางแผน ตลอดทั้งไซต์ เพื่อให้มีความผสมกลมกลืนกัน นอกจากนี้การเพิ่มแผนที่ของไซต์ ( Site Map) ในกรณีที่เว็บเพจของคุณมีความซับซ้อน ทั้งจำนวนไฟล์ HTML, ภาพ , โปรแกรม หรือสิ่งอื่น ๆ เพื่อ ให้ผู้ชมสามารถทำความเข้าใจกับโครงสร้างเว็บเพจของคุณ และในทางกลับกันคุณก็จะบริหาร และจัดการกับไซต์ของคุณได้ง่ายขึ้นด้วย
7. ชี้นำผู้ชมด้วยวิธีการง่าย ๆ
สิ่ง หนึ่งที่มีความสำคัญและคุณไม่ควรลืม นั่นคืออย่าลืมจุดประสงค์ในการสร้างเว็บไซต์ของคุณ และดำเนินการตามจุดประสงค์นั้น เช่น การเลือกและวางรูปแบบเนื้อหา ออกแบบกราฟิก สำหรับนำทางด้วยวิธีการง่าย ๆ และสอดคล้องกับจุดประสงค์ สิ่งเหล่านี้จะสร้างความประทับใจ ให้กับผู้ชมได้โดยง่าย อย่าทำให้เป็นไซต์แบบรวมมิตรเลยครับ มีสารพัดสิ่งตั้งแต่สากกะเบือ ยันเรือรบ เพราะคนที่หลงเข้าไปจะไม่มีวันหวนกลับมาอีก
8. อย่าพยายามทำตัวล้ำหน้าเกินไป
ผม ไม่ได้ตั้งหัวข้อผิดนะครับ เทคโนโลยีอาจเป็นเพื่อนที่ดีของคุณ แต่ในขณะเดียวกัน มันก็หวนมาทิ่มแทงคุณได้ การออกแบบเว็บไซต์จึงจำเป็นต้องคำนึงถึงข้อจำกัดของผู้ชมด้วย
อย่า สร้างเว็บไซต์ด้วยเทคโนโลยีล้ำยุค ซึ่งผู้คนส่วนใหญ่ไม่อาจสัมผัสได้ การใช้ เทคโนโลยีใหม่ ๆ เป็นเรื่องที่ดี แต่นั่นไม่ใช่ทุกสิ่งทุกอย่างที่คุณต้องทำ คุณต้องนึกถึงคน ส่วนใหญ่ที่ยังมีเครื่องรุ่นเก่า เว็บบราวเซอร์ที่ไม่สามารถแสดงเทคโนโลยีล้ำยุคได้ เพราะ จุดหมายของคุณคือผู้ชมจำนวนมากไม่ใช่หรือ ทางที่ดีควรเดินสายกลาง ฝึกปฏิบัติและ เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ เพื่อจะได้พร้อมที่จะเสนอเมื่อทุกอย่างลงตัว ( เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ต พัฒนาเร็วมาก การวิ่งตามสิ่งที่เกิดขึ้นและยังไม่เป็นที่ยอมรับ อาจทำให้คุณเสียเวลาโดย เปล่าประโยชน์)
จากมันสมองและสองมือของ คุณ การก๊อบปี้ภาพหรือเอกสารรูปแบบ HTML ของคนอื่น ๆ มาใช้ทั้งดุ้นนั้น แม้คนอื่นอาจจะไม่รู้ และเจ้าของเดิมก็อาจจะไม่ถือสา แต่แท้ที่จริงแล้ว วิธีการนี้ไม่ถูกต้อง เพราะคุณจะขาดความเข้าใจและไม่สามารถพัฒนาต่อไปได้
อย่าง ไร ก็ตามในอินเทอร์เน็ตก็มีแหล่งของฟรีมากมาย ไม่ว่าจะเป็นไฟล์ตัวอย่าง HTML ภาพกราฟิก แอพเพล็ต ฯลฯ วิธีนี้ง่าย สบายใจและไม่ผิดอีกด้วยครับ และที่สำคัญสิ่งที่คุณเลือกมานั้น มักจะมีคำอธิบายประกอบและใช้งานได้อย่างสมบูรณ์ด้วย อีกทั้งเว็บไซต์บางแห่งยังให้คำ ปรึกษาแก่คุณอีกด้วย
ดำเนินตาม มาตรฐานสากล พยายามใช้เทคโนโลยีที่เป็นมาตรฐานสากลที่ผู้คนทั่วไปใช้ และปฏิบัติ โดยเฉพาะจุดกึ่งกลางระหว่างเว็บบราวเซอร์ค่ายต่าง ๆ ที่ยังไม่เป็นมาตรฐานเดียวกัน (อย่าคิดทำหลาย ๆ เวอร์ชั่นให้ผู้ชมเลือกชม เพราะคุณจะประสาทกินตอนที่ต้อง ปรับปรุงข้อมูล)
9. ง่าย ๆ แต่จริงใจ
เว็บไซต์ บางคนเรียกโฮมเพจ ดังนั้นมันจึงเหมือนกับเป็นบ้านของคุณ การที่ผู้ชมเข้ามา ในเว็บไซต์หน้าแรกแล้วประทับใจ คุณก็มีชัยไปกว่าครึ่งแล้ว สร้างความเชื่อถือ เชื่อมั่นให้เกิดขึ้น ในใจของผู้ชม เหมือนกับคุณปฏิบัติต่อแขกที่มาเยี่ยมบ้าน นั่นคือนำเสนอข้อมูลที่ยืดหยุ่น ตรงไป ตรงมา เป็นกันเอง จำไว้ว่า ของดี ๆ ไม่จำเป็นต้องยากเสมอไป อย่ากลัวที่จะเพิ่มสิ่งใหม่ ๆ ลง ในไซต์ของคุณเป็นช่วง ๆ เพื่อเพิ่มความน่าสนใจกับผู้ชม
10. อย่าลืมปรับปรุงความสดใส
การ นำเสนอสิ่งที่น่าสนใจ จะเป็นการชักชวนให้ผู้ชมแวะเวียนกลับมาครั้งแล้วครั้งเล่า การแสดงวันที่หรือจำนวนครั้งที่ปรับปรุงก็มีส่วนช่วยให้ผู้ชมกลับมาเยี่ยม คุณอีก ลองดูเทคนิคใน การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงง่าย ๆ ต่อไปนี้ดูซิครับ อาจมีประโยชน์กับคุณ
จัดสลับลำดับเนื้อหาที่มีอยู่ เสริมเนื้อหาใหม่ ๆ สลับกับเนื้อหาเดิมที่มีอยู่ การเพิ่มเนื้อหา และหัวข้อใหม่ ๆ จะช่วยเพิ่มความสดใสและน่าสนใจยิ่งขึ้น
อย่าละเลยผลตอบรับของผู้ ชม สิ่งที่ผู้ชมติติงข้อผิดพลาดควรจะรีบแก้ไขในทันที เพราะ นั่นคือมีคนคอยสนใจและตรวจสอบให้แล้ว แน่นอนเขาย่อมกลับมาเยี่ยมชมคุณอีกแน่นอน อย่าลืมอีเมล์ตอบกลับทันทีถ้าทำได้
ใส่ตัวเลขนับจำนวนผู้ชมเข้าไปด้วย เพื่อบอกให้ผู้ชมทราบว่า เว็บไซต์ของคุณยอดนิยม แค่ไหน และคุณยังสามารถประเมินเนื้อหาได้ว่าเรื่องใดที่ผู้ชมสนใจมากที่สุด โดยสังเกต จำนวนที่เพิ่มขึ้นเมื่อคุณเปลี่ยนแปลงเนื้อหาใหม่
วันเวลา เปลี่ยนไปเร็วมากครับ บทความนี้ก็ผ่านมาหลายปีแล้ว แต่ก็ยังได้รับความสนใจจากแฟนๆ อยู่ หลายคนได้ข้อคิดจากตรงนี้ หลายคนขอสำเนาไปเผยแพร่ต่อ ก็ต้องขอขอบคุณสำหรับทุกท่านที่นำไปใช้ประโยชน์ช่วยกันเผยแพร่เทคนิคดีๆ เด็ดๆ ต่อๆ ไป ช่วยกันเถอะครับ ความรู้ดีๆ หลากหลายที่เป็นภาษาไทยจะได้มีมากขึ้นเพื่อให้คนไทยหลายๆ คนที่เป็นไม้เบื่อไม้เมากับภาษาอังกฤษจะได้สนใจผลิตงานดีๆ ขึ้นมาอีก